วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
            ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง  อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวลเก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสารโทรคมนาคมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ



 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
                  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งานข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
            สารสนเทศ คือ  ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลหรือจัดระบบแล้ว  เพื่อให้มีความหมาย และคุณค่าสำหรับผู้ใช้

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
             องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์  ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

 แต่ละองค์ประกอบขยายความได้ดังนี้
1.  ฮาร์ดแวร์  เป็นองค์ประกอบสำคัญ  หมายถึง  เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
2.  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
3.  ข้อมูล  เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
4.  บุคลากร  เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
5.  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ

คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
แบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวณเลขที่มีจุดทศนิยม ด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาทีคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง



2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) 
        คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมากแต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่าคัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่าเมนเฟรม เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ




3.มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) 
        เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก



4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
        เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PersonalComputer)เป็นคอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย



วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์


       สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  นับเศษไม้  ก้อนหิน  ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย  ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า  “ลูกคิด”  (Abacus)  โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณจึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ  500  ปี  ก่อนคริสต์ศักราช  และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็กๆ  ที่ฉลาด  ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
            -  ยุคแรก  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2488  ถึง  พ.ศ. 2501  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง  จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย  ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก  การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขยุ่งยากซับซ้อน
            -  ยุคที่สอง  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2502  ถึง  พ.ศ. 2506  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์  โดยมีแกนเฟอร์ไรท์  เป็นหน่วยความจำ  มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองของสื่อบันทึกแม่เหล็ก
             -  ยุคที่สาม  อยู่ระหว่างปี  พ.ศ. 2507  ถึง  พ.ศ. 2512  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม  IC  โดยวงจรแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์
             -  ยุคที่สี่  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2513  จนถึงปัจจุบัน  เป็นยุคคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก
             -  ยุคที่ห้า  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ  และการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น  โดยมีการเก็บความรู้ต่างๆ  เข้าไว้ในเครื่อง

 อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น


          อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว
         ประวัติ  ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
- อินทราเน็ต  ( Intranet)  คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในองค์กรเดียวกัน
- เอ็กซ์ทราเน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายที่เชื่อมระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีอินทราเน็ตเข้าด้วยกัน

ระบบชื่อโดเมน  Domain  Name  Server


  ระบบชื่อโดเมน   มีประโยชน์เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้น  และการบริหารเครือข่ายทำได้ดีจึงมีการกำหนดชื่อแทนรหัส  IP  โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
DNS ย่อมาจาก Domain Name System คือระบบลำดับชั้นแบบกระจายของชื่อของสิ่งในทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเครือข่าย
Name Server มีหน้าที่หลักในการแปลชื่อทรัพยากรเป็นที่อยู่ไอพี (IP address) เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจำเพียงชื่อทรัพยากรแทนการจดจำที่อยู่ไอพีที่เป็นตัวเลขอาจจะทำให้สับสนได้และยังมีหน้าที่ในการแปลที่อยู่ไอพีไปเป็นชื่อโฮสต์ (Host name) ที่เรียกว่า "Reverse Lookup"
           Domain name เป็นชื่อที่ใช้ระบุกลุ่มทรัพยากรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน DNSเพื่อให้จดจำได้ง่าย โดยชื่อต่างๆจะมีผู้ดูแลบัญชี (Registrar) เป็นผู้ดูแลจัดการทั้งนี้ชื่อโฮสต์และที่อยู่ไอพี อาจจะไม่เป็นการเชื่อมโยงแบบ 1 ต่อ 1 เสมอไป ในแต่ละที่อยู่ไอพีอาจจะมีหลายชื่อโฮสต์ที่เรียกว่า "โฮสต์เสมือน" (Virtual Host) และแต่ละชื่อโฮสต์อาจจะมีหลายที่อยู่ไอพีได้ เพื่อการกระจายภาระและเพื่อลดความผิดพลาด
 Domain name ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น
            .com  คือ  กลุ่มธุรกิจการค้า
            .edu   คือ  กลุ่มการศึกษา
            .gor    คือ กลุ่มองค์กรรัฐบาล
Domain name ชื่อย่อของประเทศ เช่น
           .th      คือ Thailand
            .hk     คือ  Hong Kong   
            .jp คือ japan                                                                                    
            .sg  คือ  Singapore
 Sub Domain เช่น
            .co    คือ องค์การธุรกิจ
            .ac    คือ สถาบันการศึกษา
            .go    คือ หน่วยงานรัฐบาล
            .or     คือ องค์กรอื่น ๆ
           
โปรโตคอล  คือ  มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ  ภาษานั่นเอง
Freeware  คือ  โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลด
Shareware  คือ  โปรแกรมที่ใช้ดาวน์โหลดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
WWW ( World  Wide  Web )  คือ  เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากที่สุดบริการหนึ่ง
HTTP (  Hypertext  Transfer  Protocol  ) คือ  เป็นโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสาร
URL  คือ  ที่อยู่หน้าเว็บเพจ
เว็บไซต์  Website  คือ  คำที่ถูกเรียก
เว็บเพจ  คือ  คำที่ใช้เรียกแทนหน้าเอกสาร HTML
โฮมเพจ  คือ  เป็นหน้าแรก
HTML  คือ  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บเพจ
โปรแกรมบราวเซอร์  ที่นิยมใช้  คือ  อินเทอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมเเละเทคโนโลยี




นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย  : การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  ทั้งวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  และเทคนิควิธีการต่าง  ๆ  มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการ
นวัตกรรม  คือ  จุดเริ่มต้นทางเทคโนโลยี
เทคโนโลยี  คือ  เครื่องมือวัสดุต่าง  ๆ
เป้าหมาย  
1.  ขยายพิสัยของวิทยาการการเรียนรู้
2.  เน้นการเรียนรู้แบบตัวบุคคล
3.  ใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในกรศึกษา
4.  พัฒนาเครื่องมือวัสดุทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
ประโยชน์
1.  ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็ว
2.  ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปประะธรรม
3.  บรรยากาศน่าเรียนสนุกสนาน
4.  ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5.  ช่วยลดเวลาในการสอน
6.  ประหยัดค่าใช้จ่าย
แนวคิด
1.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.  ความพร้อม
3.  การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.  ประสิทธิ์ภาพในการเรียน
เทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย
การยำเอาหลักแนวคิด  วิธีการต่าง  ๆ  ที่ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์  มาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ขอบข่าย
การพัฒนา  คือ  การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขให้ดีขึ้น
การออกแบบ  การนำความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน
การใช้  คือ  การนำเอากระบวนการผลิตและออกแบบมาใช้จริง
การจัดการ  คือ  ควบคุมให้เป็นไปตามแบบแผน
การประเมิน  คือ  สรุปจากสิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อนนำมาปรับปรุงและแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป
องค์ประกอบ
1.  บุคลากร
2.  การเรียนรู้
3.  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้  คือปรับแหล่งเรียนรู้ให้ดีขึ้น
4.  การจัดการ  หรือการวางแผน
ประโยชน์
1.  การเรียนการสอนมีความหมายมากขึ้น
2.  สนองเรื่องความแตกต่างระหว่างแต่ละคน
3.  การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานขอวิธีการทาประวัติศาสตร์
4.  ช่วยให่การศึกษาเพิ่มมากขึ้น
 5.  เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา






























































วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขอบข่ายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา


ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษาการออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ส่วนประกอบเหล่านี้ เป็นขอบข่ายพื้นฐานความรู้และองค์ประกอบที่สำคัญในสาขาวิชานี้ เรียกว่า 5 ขอบข่ายพื้นฐานของสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการสอน ดังนี้
1.การออกแบบ(Design) แสดงให้เห็นถึงการสร้าง หรือก่อให้เกิดทฤษฎีที่กว้างขวางที่สุดของเทคโนโลยีการสอนในศาสตร์ทางการศึกษา
2.การพัฒนา(Development) ได้มีการเจริญก้าวหน้าและแสดงให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติ
3.การใช้(Utilization) ทางด้านนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ดังเช่นทฤษฎีและการปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้มีการดำเนินการกันมากเกี่ยวกับด้าน การใช้สื่อการสอนมากมาย แต่ยังมีด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้สื่อการสอนที่ไม่ได้รับการใส่ใจ
4.การจัดการ(Management) เป็นด้านหลักที่สำคัญของสาขานี้ เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ ที่จะต้องสนับสนุนในทุกๆองค์ประกอบ ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบและแนะนำ หรือการจัดการ
5.การประเมิน(Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อปรับปรุง




ปัจจุบัน ทุกคนตระหนักดีว่าคอมพิวเตอร์มิใช่เป็นเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องจัดหาองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้พร้อม ๆ กัน บริษัท IBM ได้ใช้หลักการ 4 C’s Components ในการประเมินความพร้อมของประเทศต่าง ๆ ในการให้บริการความรู้ด้วยระบบ e-Learning หลักการ 4 C’s Components ประกอบด้วย Connectivity, Content, Capacity building และ Culture องค์ประกอบทั้ง 4 นี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้

1.Connectivity หมายถึง องค์ประกอบด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นองค์ประกอบที่นับได้ว่ามีการจัดหาดำเนินการมานานหลายปีแล้ว แต่เนื่องจากองค์ประกอบนี้มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงดำเนินการต่อเนื่องมานานหลายปี โดยมีการจัดทำแผนกำหนดเป้าหมายสัดส่วนคอมพิวเตอร์กับจำนวนนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง ในปี งบประมาณ 2549 ได้มีแผนจัดซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 เครื่อง ให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้มีสัดส่วน นักเรียน 20 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพัฒนาเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเช่นเกาหลีใต้และมาเลเซีย จะมีสัดส่วนที่ นักเรียน 5 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เท่านั้น
การต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบขององค์ประกอบนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตกำลังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดคุณค่าในการใช้เทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาการศึกษา การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารทางไกล ซึ่งมีหลายรูปแบบ จึงจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ (ดูภาพประกอบ)


2. Content หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ Animation และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งรวมถึงวิดีทัศน์ด้วย องค์ประกอบของ Content แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ การสร้าง การนำเสนอ และ การเข้าถึง
(1) การสร้าง (Create) หมายถึง การเขียนเนื้อหา รวบรวม ออกแบบ และจัดทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(2) การนำเสนอ (Offer) หมายถึง การจัดทำสื่อให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปใช้งานได้ เช่น บันทึกลงในแผ่นซีดี (CD) หรือดีวีดี (DVD) บันทึกอยู่ในเว็บไซต์ ตลอดจนจัดเข้าอยู่ในระบบของ CMS (Content Management System)
(3) การเข้าถึง (Access) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงหรือนำสื่อไปใช้ได้ เช่น การดาวน์โหลด (Download) จากเว็บไซต์ การนำซีดีหรือดีวีดีไปติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ตลอดจนการเรียนรู้วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ที่ต้องการเรียนรู้
ในการสร้างเนื้อหา สามารถรวบรวมจากส่วนย่อยซึ่งอาจเป็นข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ นำมารวมเข้าด้วยกันก็จะได้หัวข้อเรื่อง นำหัวข้อเรื่องต่าง ๆ มาต่อเข้าด้วยกันก็จะได้บทเรียนจนกระทั่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกอาจเรียกว่า เป็นเครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เหมาะที่จะใช้สร้างสื่อเฉพาะส่วน เช่น Word Processing, Flash, Dream และ Power Point เป็นต้น เครื่องมืออีกประเภทหนึ่งอาจเรียกว่าเป็นโปรแกรมสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้สร้างสื่อให้มีเนื้อหาเป็นเรื่องราวได้ ถ้าเป็นบทเรียนสามารถทำได้ทั้งบท เครื่องมือประเภทนี้มีทั้งชนิดที่สร้างบทเรียนเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ และบางชนิดสามารถสร้างบทเรียนที่สลับซับซ้อนได้ด้วย โปรแกรมสร้างสื่อที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีมากมายตัวอย่างเช่น Flip Publisher, Tool book, Namo และ Elicitus เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีไดอะแกรมภาพตลอดจนวิดีโอคลิป (Video clip)ให้ด้วย ดังนั้นผู้เริ่มต้นสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมักจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นและต้องการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะบางประการก็จะต้องใช้เครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเภทแรกด้วย จึงจะสามารถสร้างสื่อที่มีลักษณะตามความต้องการได้


3. Capacity building หมายถึง การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้กำกับนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงาน ครูผู้สอน นักเรียน ตลอดจนถึงผู้สร้างสื่อและเจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็น 4 ด้าน คือ การใช้สื่อ ทักษะทางด้านเทคนิค การประสานความร่วมมือ และ การสร้างเครื่องช่วยกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งครูผู้สอนจะต้องมีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์ผู้เรียน กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การเลือกสื่อการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องการความร่วมมือจากผู้เรียนและการประเมินผลครู จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหน้าที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาครูให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ และโดยที่ครูมีจำนวนมากประกอบกับความเปลี่ยนแปลงในภารกิจหน้าที่ ทำให้ต้องมีการอบรมครูเป็นจำนวนมากเป็นเวลาที่ยาวนาน ดังนั้น การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปใช้ในการเรียนการสอนประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
4. Culture หมายถึง วัฒนธรรมในการเรียนการสอนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนที่ครูพบกับนักเรียน และให้ความรู้ตามที่กำหนดไว้ในตารางเรียน ซึ่งมีเวลาที่ชัดเจนและจำกัด โดยครูเป็นผู้สอนให้ความรู้แก่นักเรียนไปตามขั้นตอนที่ครูเป็นผู้กำหนดทั้งหมด เมื่อใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่นักเรียนจะต้องรับผิดชอบต่อบทเรียนด้วยตัวเองมากขึ้น นักเรียนจะสามารถเรียนรู้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดขึ้นเอง รู้จักการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการสังเคราะห์ความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันครูผู้สอนจะต้องจัดโปรแกรมให้นักเรียนแต่ละคนเรียนตามความสามารถและสนใจของแต่ละคนที่แตกต่างกัน จะต้องเข้าใจพฤติกรรมความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น ตลอดจนยอมรับความแตกต่างเหล่านั้นและนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่พึงประสงค์ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้าสู่เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานกลางให้ได้ ดังนั้น นวัตกรรมการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างจากเดิมมาก และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นจึงจะทำให้การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเกิดผลดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ ต้องใช้ร่วมกันและต้องได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน จึงจะสามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดผลดีได้ หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator).

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
            มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
            เช่น       - บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน     หนังสืออิเล็คทรอนิค  
                        - บทเรียนCD/VCD                      - คู่มือการทำงานกลุ่ม
2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
            เช่น       - การสอนแบบร่วมมือ                  - การสอนแบบอภิปราย
                        - วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ         - การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่ 
3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
            เช่น       - หลักสูตรสาระเพิ่มเติม               - หลักสูตรท้องถิ่น
                        - หลักสูตรการฝึกอบรม                - หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
            เช่น       - การสร้างแบบวัดต่างๆ               - การสร้างเครื่องมือ
                        - การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
            แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผลเช่น
                        - การสร้างแบบวัดแววครู             - การพัฒนาคลังข้อสอบ 
                        - การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง              
5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ
            เช่น       - การบริหารเชิงระบบ                   - การบริหารเชิงกลยุทธ์
                        - การบริหารเชิงบูรณาการ

ความหมายของเทคโนโลยี
            เทคโนโลยี หมายถึง หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่องานนั้นๆ ดีขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา


            เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาหลักแนวคิด วิธีการต่างๆที่ตั้งอยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เข้ากับกระบวนการจัดการศึกษา มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนการที่แปลกใหม่ และได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง